การบัญชี ตามความรับผิดชอบ
การบัญชีตามความรับผิดชอบ หมายถึง กระบวนการหรือระบบข้อมูลในการ Manage ข้อมูล ให้สอดคล้องกับหน่วยงานหรือผู้รับทำบัญชีตามความรับผิดชอบ เผื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งสรร ปันส่วนและวางแผนจัดการให้สำนักงาน บริษัท หรือธุรกิจ ใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด และยังช่วยในเรื่องของ การควบคุมการปฏิบัติงานและการดำเนินงานอีกด้วย
รูปแบบบัญชีตามความรับผิดชอบ
อาศัยหลักเกณฑ์ของการกระจายอำนาจ โดยให้อิสระในการตัดสินใจควบคุมวางแผนในการปฏิบัติงานตามศูนย์ความรับผิดชอบของผู้รับทำบัญชี ซึ่งศูนย์ความรับผิดชอบในที่นี้หมายความว่า หน่วยงาน ที่มีลักษณะคล้ายกันที่ถูกรวมเข้าด้วยกันและกำหนดให้มีหน้าที่และความรับผิด ชอบเฉพาะ อย่าง ซึ่งหน่วยงานอาจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดศูนย์รับผิดชอบ มีดังนี้
1. สามารถระบุแยกหน้าที่ของแต่ละคนได้อย่างชัดเจน
2. มีการดำเนินงานและวัดผลได้อย่างเหมาะสม
3. มีการประสานงานและสื่อสารระหว่างส่วนกลางด้วยกัน
ประเภทของศูนย์ความรับผิดชอบ
1. ศูนย์ต้นทุน (Cost Center)
ศูนย์ต้นทุน เป็นศูนย์รับผิดชอบที่นิยมมากที่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวข้อง เฉพาะการก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างของศูนย์ต้นทุน ได้แก่ ฝ่ายบัญชีของบริษัท ฝ่ายผลิต การวัดผลจะเน้นที่ดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยประหยัด ต้นทุนที่สุด
2. ศูนย์กำไร (Profit Center)
ศูนย์กำไร เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านการผลิต การซื้อ การขาย การก่อให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ผู้บริหารศูนย์กำไรจะต้องสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิต การกำหนดคุณภาพ การตั้งราคาการขายและ การจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มพูนกำไรของศูนย์กำไร
3. ศูนย์การลงทุน (Investment Center)
ศูนย์การลงทุน เป็นหน่วยงานที่สมบูรณ์แบบในตัวเองที่สุดผู้บริหารมีอำนาจเต็มที่ในการตัด ในใจลงทุนสินทรัพย์ในการ ดำเนินงาน การให้สินเชื่อ การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือ ตลอดจนการตั้งราคาขายสินค้าเอง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในการกำหนดเป้าหมายผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น