คำถามที่มีการถามมากที่สุดของผู้รับทำบัญชี
ในบรรดาคำถามต่างๆที่นักรับทำบัญชีจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น มีมากมาย แต่หลักแล้ว มีด้วยกัน 5 คำถาม ที่ผู้รับทำบัญชีไม่ควรพลาด ดังต่อไปนี้
1. ใครคือผู้รับทำบัญชี
ผู้รับทำบัญชี คือผู้ที่มีอำนาจในการรับผิดชอบต่อการบัญชีของกิจการหนึ่งๆ ซึ่งได้รับมอบหมายมาจากผู้ประกอบการ หรือเจ้าของกิจการนั้น ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้ว กิจการทุกกิจการต้องมีผู้ทำบัญชีอย่างน้อย 1 คน ซึ่งอาจเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี หรือ สมุห์บัญชี ก็ได้ทั้งนั้น แล้วผู้รับทำบัญชีจะต้องไม่รับทำบัญชีเกิน 100 แห่งต่อปี
2. คุณสมบัติของผู้รับทำบัญชี
คุณสมบัติของผู้รับทำบัญชีที่ดี จะถูกกำหนดตามความต้องการของเข้าของธุรกิจ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า ธุรกิจที่ต้องการรับทำบัญชีนั้น มีขนาดของธุรกิจที่ใหญ่มากน้อยเพียงใด โดยผู้ทำบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท จะต้องมีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญา หรือ ปวส.ทางการบัญชี และหากเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ต้องมีวุฒทางการบัญชี ป.ตรี ขึ้นไป หรือเทียบเท่า
3.ผู้รับทำบัญชีทุกคน ต้องขึ้นทะเบียนหรือไม่
ไม่จำเป็นเพราะ การรับทำบัญชีทั่วไปไม่ถือว่าเป็นผู้ทำบัญชี เนื่องจากผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นบุคคลที่ผู้ประกอบการหรือนิติบุคคลมอบหมายให้เป็นผู้มีหน้าที่
ทำบัญชีและมีหน้าที่รับผิดชอบในการลงนามใน สบช. 3
4. CPD หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า ชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี นับกันอย่างไร
ผู้ทำบัญชีจะต้องมีการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD ย่อมาจาก Continuing Professional
Development) เพื่อที่จะเพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำบัญชี ในปัจจุบัน และอนาคต
5. การแจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD) ต้องทำอย่างไร
สามารถแจ้งได้ทางอินเตอร์เน็ต กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 60 วัน
วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553
วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553
การบัญชี ตามความรับผิดชอบ
การบัญชี ตามความรับผิดชอบ
การบัญชีตามความรับผิดชอบ หมายถึง กระบวนการหรือระบบข้อมูลในการ Manage ข้อมูล ให้สอดคล้องกับหน่วยงานหรือผู้รับทำบัญชีตามความรับผิดชอบ เผื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งสรร ปันส่วนและวางแผนจัดการให้สำนักงาน บริษัท หรือธุรกิจ ใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด และยังช่วยในเรื่องของ การควบคุมการปฏิบัติงานและการดำเนินงานอีกด้วย
รูปแบบบัญชีตามความรับผิดชอบ
อาศัยหลักเกณฑ์ของการกระจายอำนาจ โดยให้อิสระในการตัดสินใจควบคุมวางแผนในการปฏิบัติงานตามศูนย์ความรับผิดชอบของผู้รับทำบัญชี ซึ่งศูนย์ความรับผิดชอบในที่นี้หมายความว่า หน่วยงาน ที่มีลักษณะคล้ายกันที่ถูกรวมเข้าด้วยกันและกำหนดให้มีหน้าที่และความรับผิด ชอบเฉพาะ อย่าง ซึ่งหน่วยงานอาจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดศูนย์รับผิดชอบ มีดังนี้
1. สามารถระบุแยกหน้าที่ของแต่ละคนได้อย่างชัดเจน
2. มีการดำเนินงานและวัดผลได้อย่างเหมาะสม
3. มีการประสานงานและสื่อสารระหว่างส่วนกลางด้วยกัน
ประเภทของศูนย์ความรับผิดชอบ
1. ศูนย์ต้นทุน (Cost Center)
ศูนย์ต้นทุน เป็นศูนย์รับผิดชอบที่นิยมมากที่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวข้อง เฉพาะการก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างของศูนย์ต้นทุน ได้แก่ ฝ่ายบัญชีของบริษัท ฝ่ายผลิต การวัดผลจะเน้นที่ดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยประหยัด ต้นทุนที่สุด
2. ศูนย์กำไร (Profit Center)
ศูนย์กำไร เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านการผลิต การซื้อ การขาย การก่อให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ผู้บริหารศูนย์กำไรจะต้องสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิต การกำหนดคุณภาพ การตั้งราคาการขายและ การจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มพูนกำไรของศูนย์กำไร
3. ศูนย์การลงทุน (Investment Center)
ศูนย์การลงทุน เป็นหน่วยงานที่สมบูรณ์แบบในตัวเองที่สุดผู้บริหารมีอำนาจเต็มที่ในการตัด ในใจลงทุนสินทรัพย์ในการ ดำเนินงาน การให้สินเชื่อ การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือ ตลอดจนการตั้งราคาขายสินค้าเอง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในการกำหนดเป้าหมายผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจ
การบัญชีตามความรับผิดชอบ หมายถึง กระบวนการหรือระบบข้อมูลในการ Manage ข้อมูล ให้สอดคล้องกับหน่วยงานหรือผู้รับทำบัญชีตามความรับผิดชอบ เผื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งสรร ปันส่วนและวางแผนจัดการให้สำนักงาน บริษัท หรือธุรกิจ ใช้ทรัพยากรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด และยังช่วยในเรื่องของ การควบคุมการปฏิบัติงานและการดำเนินงานอีกด้วย
รูปแบบบัญชีตามความรับผิดชอบ
อาศัยหลักเกณฑ์ของการกระจายอำนาจ โดยให้อิสระในการตัดสินใจควบคุมวางแผนในการปฏิบัติงานตามศูนย์ความรับผิดชอบของผู้รับทำบัญชี ซึ่งศูนย์ความรับผิดชอบในที่นี้หมายความว่า หน่วยงาน ที่มีลักษณะคล้ายกันที่ถูกรวมเข้าด้วยกันและกำหนดให้มีหน้าที่และความรับผิด ชอบเฉพาะ อย่าง ซึ่งหน่วยงานอาจจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดศูนย์รับผิดชอบ มีดังนี้
1. สามารถระบุแยกหน้าที่ของแต่ละคนได้อย่างชัดเจน
2. มีการดำเนินงานและวัดผลได้อย่างเหมาะสม
3. มีการประสานงานและสื่อสารระหว่างส่วนกลางด้วยกัน
ประเภทของศูนย์ความรับผิดชอบ
1. ศูนย์ต้นทุน (Cost Center)
ศูนย์ต้นทุน เป็นศูนย์รับผิดชอบที่นิยมมากที่สุด ทำหน้าที่เกี่ยวข้อง เฉพาะการก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างของศูนย์ต้นทุน ได้แก่ ฝ่ายบัญชีของบริษัท ฝ่ายผลิต การวัดผลจะเน้นที่ดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยประหยัด ต้นทุนที่สุด
2. ศูนย์กำไร (Profit Center)
ศูนย์กำไร เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านการผลิต การซื้อ การขาย การก่อให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ผู้บริหารศูนย์กำไรจะต้องสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิต การกำหนดคุณภาพ การตั้งราคาการขายและ การจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มพูนกำไรของศูนย์กำไร
3. ศูนย์การลงทุน (Investment Center)
ศูนย์การลงทุน เป็นหน่วยงานที่สมบูรณ์แบบในตัวเองที่สุดผู้บริหารมีอำนาจเต็มที่ในการตัด ในใจลงทุนสินทรัพย์ในการ ดำเนินงาน การให้สินเชื่อ การกำหนดระดับสินค้าคงเหลือ ตลอดจนการตั้งราคาขายสินค้าเอง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในการกำหนดเป้าหมายผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)